วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปบทความ

สรุปบทความ

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
โดย นายบุญไทย แสนอุบล

การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมิใช่หมายถึงสาระทางเคมี ชีววิทยา แต่เด็กปฐมวัยนั้นจะ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ ซึ่ง ดร.ดินา สตาเคิล 
ได้แบ่งสาระทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ 4 หน่วย ดังนี้

     หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
     หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการรับรู้
     หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
     หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการแยกประเภท


ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 เด็กจะตั้งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่


 1. การสังเกต                                                                           2.การจำแนกประเภท                                                  

 3. การสื่อความหมาย                                                                  4. ทักษะการลงความเห็น         





    ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์

     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติ แบ่งเป็น 5ขั้นดังนี้

     ขั้นที่ 1 การกำหนดขอบเขตของปัญหา
ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด้กปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
     
    ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้า
     
    ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตาสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 2
    
    ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน
  
   ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม
    
     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานทาง

วิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกประเภทและเปรียบเทียบ การวัด 

การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้


     เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์

1.ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่มี

2.ให้เด็กได้ใช้ประบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

3.กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ  และเจตคติของเด็กให้พบ

4.ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้น

     
สาระที่เด็กต้องเรียน


สาระเกี่ยวกับพืช เช่น พืช ต้นไม้ ดอกไม้

สาระเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์

สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย

สาระเกี่ยวกับเคมี เช่น รสของผลไม้ ความร้อน

สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา เช่น ดิน ทราย หิน

สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ 



    

หลักการจัดกิจกรรม

หลักการจัดกิจกรรมสามารถแบ่งได้ 5 ข้อ ดังนี้

                                 1. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก

                                 2. เอื้ออำนวยให้แก่เด็กที่กระทำ

                                 3. เด็กต้องการและสนใจ

                                 4. ไม่ซับซ้อน

                                 5. สมดุล



     สิ่งที่ได้จากวิทยาศาสตร์นั้น คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยในการ
ค้นคว้า การสืบค้น และการเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว 
รู้จักการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุปการเรียนรู้  เรื่อง เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์