วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 Science Provision for Early Childhood
วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2562



การเรียนการสอนในวันนี้ของคาบเรียน การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาจับกลุ่มกันกลุ่มละ 5 คน พร้อมกับถ่ายรูปและส่งเข้าไปยังเว็บบล็อค เพื่อให้นักศึกษาแต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับว่า ตนนั้นคิดว่ารายวิชานี้เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องใด และต้องเรียนเรื่องใดบ้าง
อาจารย์ได้พูดอธิบายถึงการเรียนรู้ ความสำคัญ และการทำงานของสมอง โดยให้นักศึกษาขยับมือทั้งสองข้างตามที่อาจารย์สั่ง

พัฒนาการ  คือ ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัยมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง
   รู้พัฒนาการเพื่อนำมาออกแบบจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กหรือเรียกอีกอย่างว่าการเล่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

พัฒนาการตามแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆ

 -สติปัญญา  เพียเจต์  บรูนเนอร์

 -พัฒนาการทางสังคม มาสโลว์

 -พัฒนาการทางพฤติกรรม ซิกมันฟรอยด์

 -พัฒนาการทางร่างกายกีเซล

 -พัฒนาการทางด้านคุณธรรม  โคลเบริก์

นอกจากนี้อาจารย์ยังได้พูดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กเมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้ โดยอาจารย์ได้หยิบยกเรื่องของแมวกับเด็ก ที่เคยได้พูดสอนกับนักศึกษาไปหลายครั้งอซึ่งเชื่อมโยงไปถึงทฤษฎีของเพียเจท์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ขั้นอนุรักษ์




ช่วงท้ายคาบเรียน อาจารย์ได้มอบหมายชิ้นงานให้กับนักศึกษา ทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว โดยงานกลุ่มนั้นอาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มจับฉลากหัวข้อ เผื่อจะนำไปทำเป็นมายแมพและลงข้อมูลในแอพ thinklink นอกจากนี้ก็ยังมีานเดี่ยวที่อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษานั้นได้ไปค้นคว้าหา สื่อสำหรับสอนเด็กโดยสื่อชิ้นนั้นๆจะต้องเป็นสื่อที่ให้เด็กได้เรียนรู้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้วย





VOCABULARY
(คำศัพท์น่ารู้)
cast lots  :  จับฉลาก
theory : ทฤษฎี
Brain function  :  การทำงานของสมอง
Scientific method  :  วิธีการทางวิทยาศาสตร์
recommend  :   แนะนำ




การประเมิน ประจำวันพุธ ที่ 14 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา คอยให้คำแนะนำปรึกษา และนำเอานวัตกรรมการสอนรูปแบบให้ๆเข้ามาสอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเข้าเรียนตรงตามเวลา และเเต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินตนเอง : มาเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำการคำแนะนำของอาจารย์เป็นอย่างดี 






บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 Science Provision for Early Childhood

วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2562


 วันนี้เป็นการเจอกันคาบแรกของวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กประถมวัย อาจารย์จึงอธิบายเนื้อหารายวิชา เกณฑ์การให้คะแนน พร้อมคุยเรื่องกฎกติกา ในการเรียนการใช้ห้องเรียนและ ท้ายคาบอาจารย์มอบหมายงานให้ไปสร้าง Blogger ของตัวเองและลิ้งค์ของเพื่อนกับของเราไว้ด้วยกันโดยให้หา วิจัย ตัวอย่างการสอน และ สื่อมาใส่ไว้และการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องนั้นนำมาลงบล็อค 







VOCABULARY
(คำศัพท์น่ารู้)



Experience arrangement  :  การจัดประสบการณ์

recommend  :   แนะนำ

adapt  :  การประยุกต์ใช้

Assigned  :  มอบหมาย

Information : ข้อมูล






Assessment (การประเมิน)

Our self : ตั้งไจเรียนมาตรงเวลาและพร้อมสำหรับการเรียนรู้

Frieng : ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์พร้อมกับให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

Teacher : อาจารย์อธิบายรายละเอียดของวิชาได้อย่างเข้าใจและ
ข้อตกลงต่างๆอย่างชัดเจน

Classroom : บรรยากาศในห้องเรียนดี



         


สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2
สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วยกลางวัน-กลางคืน

ผู้วิจัย สุพรรณา บุตรพรม
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

                  1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80
                  2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน
                  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

1. ได้แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่2 ที่สอดคล้องกับความต้องการความสนใจและความสามารถของเด็กมากขึ้น
2. เป็นข้อสนเทศสำหรับครูและผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเสริมสร้างการเรียนรู้จากสภาพชีวิตจริงของเด็กให้บรรลุผลมากยิ่งขึ้น

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
     ประชากรได้แก่เด็กอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ของโรงเรียนในเขตพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่4(พนาศึกษา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3 จำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 10 ห้องเรียน จำนวน 224 คน
     กลุ่มตัวอย่างได้แก่เด็กอนุบาลชั้นปีที่2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านหนองโกโพธิ์เงินคำผักกูด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต3 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
2.หน่วยการเรียนรู้
     หน่วยการเรียนรู้ที่ใช้ในการทดลองคือ หน่วย กลางวัน-กลางคืน โดยจัดทำเป็นแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จำนวน 10 แผน จากประสบการณ์แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 20 ชั่วโมง
3. ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า
     ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2549 ระยะวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง วันที่ 10 ตุลาคม 2549 รวมเวลาทดลองสอน 20 ชั่วโมง


การดำเนินการทดลองและระยะเวลาในการทดลอง

1. การดำเนินการศึกษา
     การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินการศึกษาค้นคว้า ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน ประกอบการจัดประสบการณ์ จำนวน 10 แผน การเรียนรู้ จัดประสบการณ์แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 20 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการจัดประสบการณ์ด้วยตนเองดังนี้
     - ทดสอบความพร้อมทางการเรียน เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 หน่วย กลางวัน-กลางคืน ด้วยข้อสอบที่มีตัวเลือกเป็นรูปภาพ แบบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ก่อนเรียนใน วันที่ 10 กรกฎาคม 2549
     - ดำเนินการจัดกิจกรรมด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วยกลางวัน-กลางคืน ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม. 2549 ถึง วันที่ 21 กรกฎาคม 2549 และประเมินพฤติกรรมการเรียนของเด็กระหว่างเรียนในแต่ละแผน ตามแบบประเมินความพร้อมทางการเรียนและบันทึกคะแนนไว้ในแต่ละแผนจนครบจำนวน 10 แผน
     - เมื่อดำเนินการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัวหน่วย กลางวัน-กลางคืน เสร็จสิ้นแล้ว ทำการทดสอบความพร้อมทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียนในวันที่. 21 กรกฎาคม 2549
   - วัดความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2549
     - นำคะแนนที่ได้จากการเก็บข้อมูลทั้งหมด มาวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางสถิติ


เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด คือ
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน จำนวน 10 แผน จัดประสบการณ์แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 20 ชั่วโมง
2. แบบทดสอบความพร้อมทางการเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หน่วย กลางวัน-กลางคืน เป็นข้อสอบที่มีตัวเลือกเป็นรูปภาพแบบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
3. แบบวัดความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์เพื่อแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าสามระดับจำนวน 10 ข้อ


สรุปผล
              การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว      หน่วยกลางวัน-กลางคืนสรุปผลได้ตามลำดับดังนี้

1. แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน มีประสิทธิภาพ 84.67/81.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน หน่วย กลางวัน- กลางคืน มีค่าเท่ากับ 0.5689 แสดงว่าชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 56.89

3. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพึงพอใจที่จะได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

สรุปบทความ

สรุปบทความ

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
โดย นายบุญไทย แสนอุบล

การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมิใช่หมายถึงสาระทางเคมี ชีววิทยา แต่เด็กปฐมวัยนั้นจะ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ ซึ่ง ดร.ดินา สตาเคิล 
ได้แบ่งสาระทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ 4 หน่วย ดังนี้

     หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
     หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการรับรู้
     หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
     หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการแยกประเภท


ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 เด็กจะตั้งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่


 1. การสังเกต                                                                           2.การจำแนกประเภท                                                  

 3. การสื่อความหมาย                                                                  4. ทักษะการลงความเห็น         





    ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์

     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติ แบ่งเป็น 5ขั้นดังนี้

     ขั้นที่ 1 การกำหนดขอบเขตของปัญหา
ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด้กปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
     
    ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้า
     
    ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตาสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 2
    
    ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน
  
   ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม
    
     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานทาง

วิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกประเภทและเปรียบเทียบ การวัด 

การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้


     เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์

1.ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่มี

2.ให้เด็กได้ใช้ประบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

3.กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ  และเจตคติของเด็กให้พบ

4.ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้น

     
สาระที่เด็กต้องเรียน


สาระเกี่ยวกับพืช เช่น พืช ต้นไม้ ดอกไม้

สาระเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์

สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย

สาระเกี่ยวกับเคมี เช่น รสของผลไม้ ความร้อน

สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา เช่น ดิน ทราย หิน

สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ 



    

หลักการจัดกิจกรรม

หลักการจัดกิจกรรมสามารถแบ่งได้ 5 ข้อ ดังนี้

                                 1. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก

                                 2. เอื้ออำนวยให้แก่เด็กที่กระทำ

                                 3. เด็กต้องการและสนใจ

                                 4. ไม่ซับซ้อน

                                 5. สมดุล



     สิ่งที่ได้จากวิทยาศาสตร์นั้น คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยในการ
ค้นคว้า การสืบค้น และการเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว 
รู้จักการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


สรุปการเรียนรู้  เรื่อง เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์